วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เปิดโปงเบื้องหน้า เบื้องหลัง อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ระดับโลก

เปิดโปงเบื้องหน้า เบื้องหลัง อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ระดับโลก
และยิ่งใหญ่ เป็นอันดับหนึ่งของโลกที่แหกตาผู้บริโภคมานานปี
เนื้อสัตว์ที่เลี้ยงในสถานที่สกปรกสุดโสโครกเต็มไปด้วยเชื้อโรค
มากมายเกินกว่าคำบรรยาย และ สุดแสนสลดหดหู่ ทรมาร
เพื่อนเหล่าสรรพสัตว์
 
อยากให้เพื่อน ๆ ได้ดู สถานที่จริง การผลิต สุดแสนสกปรก เต็มไปด้วย
เชื้อโรค มากมาย และ แสนอนาถ สลดหดหู่ต่อเพื่อน ร่วมโลก
จากเวปลิงค์  ข้างล่าง  ไทยเรา ก็มีปิดบังข้อเท็จจริง
 
 

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หมูขาดตลาดเหตุติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส

หมูขาดตลาดเหตุติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส

  • 26 กรกฎาคม 2554 เวลา 12:35 น. |


ภาคเหนือหมูแพงและขาดแคลน  หลังเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสระบาดหนัก ทำลูกหมูเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก


นายสัจจะ อัตตะศิริ หัวหน้าด่านกักกันสัตว์จังหวัดลำปาง กล่าวว่า ราคาเนื้อหมูแพงและขาดตลาดอยู่ในขณะนี้สาเหตุมาจากฟาร์มลูกหมูทั่วภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน และน่าน ประสบปัญหาหมูป่วยหรือหมุติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่าไวรัสพีอาร์อาร์เอสซึ่งติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ และทางเดินหายใจ ทำให้ลูกหมูเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจึงไม่มีหมูส่งป้อนตลาด

นายสัจจะ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ด่านกักกันสัตว์และปศุสัตว์จังหวัดลำปาง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เร่งสกัดกั้นการเคลื่อนย้ายหมูเข้ามาในพื้นที่ลำปางเพื่อสกัดเชื้อไวรัสแพร่ระบาด ที่ผ่านมาพบว่ามีการขนย้ายเครื่องในสุกร มากว่า 500 กิโลกรัม และได้มีการจับกุมส่งตำรวจ สภ.ห้างฉัตร ดำเนินคดีไปแล้ว

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตับห่าน อาหารหรูราคาแพงระยับ แต่แฝงด้วย ความ สลดหดหู่ ทรมารสัตว์

เมื่อ"ตับห่าน"ไม่หวานอีกต่อไป เยอรมันสั่งแบน"ฟัว กราส์"ในเทศกาลอาหารอ้างฝรั่งเศสทารุณสัตว์

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13:30:00 น.


คณะผู้จัดงานเทศกาลอาหารชื่อดังของเยอรมนี มีคำสั่งห้ามไม่ให้มีการนำ "ฟัว กราส์" หรือตับห่าน เมนูอาหารชื่อดังของฝรั่งเศส มาร่วมแสดงในเทศกาลอย่างเด็ดขาด



ทั้งนี้ เทศกาลอาหารอานูก้า ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองโคโลญจ์ ในเดือนตุลาคมนี้ อ้างคำกล่าวของกลุ่มพิทักษ์สิทธิสัตว์ที่ว่า การผลิตฟัว กราส์ มีกระบวนการที่บ่งชี้ว่ามีการกระทำทารุณต่อสัตว์ ซึ่งสร้างความขุ่นเคืองให้แก่ผู้ผลิตอาหารชนิดนี้ในฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก

โดยอ้างว่าการผลิตตับห่านเกี่ยวข้องกับการบังคับให้ห่านหรือเป็ด กินอาหารโดยที่พวกมันไม่เต็มใจ เพื่อให้ตับของมันเต็มไปด้วยไขมันมากกว่าปกติ โดยพวกมันต้องกลืนอาหารจากท่อที่ต่อเข้ากับปากของมัน เพื่อให้ตับมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติประมาณ 10 เท่า ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถูกสั่งห้ามในเยอรมนี แม้ว่าจะมีการบริโภคตับห่านอย่างแพร่หลายก็ตาม

ด้านนายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีเกษตรของฝรั่งเศส ได้ส่งจดหมายร้องเรียนไปยังนางอิลเซ แอ็คเนอร์ รัฐมนตรีเกษตรเยอรมนี เพื่อให้มีการยกเลิกข้อห้ามดังกล่าว โดยกล่าวว่า เทศกาลครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายจะได้พบปะกับผู้บริโภคโดยตรง และหากเยอรมนียังคงยืนยันคำสั่งเช่นนี้ เขาเองก็ไม่เห็นว่าควรจะไปร่วมงานนี้แต่อย่างใด

นายเลอ แมร์ ยืนยันว่า ฝรั่งเศสได้ปฏิบัติตามกฏข้อบังคับของสหภาพยุโรปว่าด้วยการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างดี ขณะที่นางแอ็คเนอร์กล่าวตอบว่า นี่เป็นเรื่องของคณะผู้จัดงานที่จะตัดสินใจว่าควรทำอย่างไร

กลุ่มพิทักษ์สิทธิสัตว์เปิดเผยว่า มีเพียงร้อยละ 15 ของผู้ผลิตฟัว กราส์เท่านั้น ที่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของอียู ที่ห้ามไม่ให้มีการเลี้ยงสัตว์ปีกในกรงที่มีขนาดเล็กกว่าที่พวกมันจะสามารถขยับปีกได้ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อต้นปี 2011 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ มีเป็ดราว 37 ล้านตัว และห่านประมาณ 7 แสนตัว ที่ถูกเชือดเพื่อนำตับของมันไปประกอบอาหาร การบังคับให้สัตว์ดังกล่าวกินอาหารเป็นสิ่งที่มีการปฏิบัติมาช้านาน ราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล และไม่เป็นที่แน่ชัดว่าชาวอียิปต์ใช้วิธีเดียวกันนี้เพื่อขุนให้สัตว์จำพวกเป็ดไก่อ้วนขึ้นหรือไม่

ตามบัญญัติกฎหมายข้อหนึ่งของฝรั่งเศส หรือที่เรียกกันว่า "ข้อห้ามทางวัฒนธรรม" ระบุไว้ว่า "ฟัว กราส์ คือส่วนหนึ่งของมรดกด้านวัฒนธรรมและศิลปะการรับประทานอาหารของฝรั่งเศส โดย "ฟัว กราส์" หมายความถึง "ตับของเป็ดหรือห่าน ที่ถูกทำให้สมบูรณ์อย่างเฉพาะเจาะจง โดยวิธีการบังคับกินอาหาร"

ฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ผลิตฟัว กราส์ รายใหญ่กว่าร้อยละ 75 ของทั่วโลก โดยแหล่งผลิตอื่นๆ ได้แก่ สหรัฐฯและจีน
http://j-b-t.blogspot.com/2010/06/foie-gras-1500.html

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การกินเนื้อสัตว์...ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาหรือไม่ ?

การกินเนื้อสัตว์...ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาหรือไม่ ?
อาจารย์สมภาร พรมทา

บทสรุป


ท้ายที่สุดแล้วพุทธทุกฝ่ายก็เห็นร่วมกันว่า

การถือมังสวิรัติเป็นดี การที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้สาวกกินเนื้อสัตว์ได้

ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาทนั้น

ควรเข้าใจว่าเป็นคนละเรื่องกับการสนับสนุนให้กินเนื้อสัตว์

เป็นระบบที่คิดเผื่อให้มีทางออก

สำหรับสถานการณ์ที่เราไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้

เมื่อเราเข้าไปดูหนังในโรงหนัง



โรงหนังนั้นต้องมีทางออกปิดเอาไว้


สำหรับคนที่มีภาระต้องออกไป ก่อนคนอื่น

หรือไม่ยินดีที่จะดูหนังต่อเพราะหมดสนุก

พระพุทธองค์ทรงคิดเช่นนี้

จึงทรงอนุญาตให้ชาวพุทธบริโภคเนื้อสัตว์ได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าในอนาคตหลังจากที่ทรงปรินิพพานแล้ว

พุทธศาสนาอาจแพร่เข้าไปในดินแดนที่อาหารหลักของผู้คนคือเนื้อสัตว์

(เช่นบริเวณขั้วโลกเหนือที่ปลูกพืชแทบจะไม่ได้เลย

มีแต่ปลาและเนื้อเท่านั้นที่ผู้คนจะกินเป็นอาหารได้)

การปิดประตูสนิทสำหรับการกินเนื้อสัตว์

จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

แต่การมีประตูออกที่โรงหนัง

ไม่ได้แปลว่าเป็นการเชิญชวนให้ทุกคนออกมาจากโรงหนัง

การมีอยู่ของประตูนั้น

ควรเข้าใจว่ามีอยู่ในฐานะช่องทางสำหรับการเลือก

จริยธรรมแบบที่ไม่มีช่องทางสำหรับการเลือกเลยนั้น

พุทธศาสนาเถรวาทถือว่าเป็นจริยธรรมที่สุดโต่ง

การที่ฝ่ายมหายานมีความปรารถนา

ที่จะให้โลกนี้ลดการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารมนุษย์นั้น

ต้องถือว่าเป็นเจตนาดีอย่างไม่มีข้อสงสัย

ยิ่งในโลกปัจจุบันที่อุตสาหกรรมอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์

กระทำในรูปธุรกิจที่มีการเลี้ยงสัตว์คราวละมากๆ
และฆ่าสัตว์เพื่อส่งตลาดคราวละมากๆ

ข้อเสนอของฝ่ายมหายานยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
สิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ

การที่เรายังกินเนื้อสัตว์อยู่
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความชั่วร้าย
ที่กลายเป็นระบบไปแล้วนี้ยังดำรงอยู่ต่อไป
________________________________________


ถูกปฏิบัติอย่างไม่มีคุณค่าโดยเจ้าของธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้อง

รอวันหนึ่งเมื่อเนื้อของมันจะให้ค่าตอบแทนสูงสุดแก่ผู้ลงทุน


พวกมันก็จะถูกกวาดต้อนไปเชือด





นี่คือปาณาติบาตที่ทำอย่างเป็นระบบ เป็นวงจร

และอย่างปราศจากความสำนึกทางศีลธรรมใดใด

การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารบ้างในสังคมเกษตรกรรมนั้น

อาจถูกตั้งคำถามไม่มากนักในเชิงจริยธรรม

ชาวนาที่เลี้ยงไก้ไว้ในบ้านปฏิบัติต่อไก่นั้น

อย่างมนุษย์ปฏิบัติต่อเพื่อสรรพสัตว์

ให้อาหารมัน มีที่มีทางให้มันได้เดิน ได้วิ่ง

ได้เลี้ยงลูก ตามประสาของมัน


ถึงเวลาที่จำเป็นเขาอาจขอชีวิตพวกมันบางตัวเพื่อเป็นอาหาร

ปาณาติบาตในสภาพการณ็เช่นนี้ยังพอเป็นที่เข้าใจได้

แต่ไก่หรือหมูที่อยู่ในโรงเลี้ยงสัตว์จำนวนเป็นพันเป็นหมื่นตัวนั้น
ไม่มีคุณค่าหรือศักดิ์ใดใดหลงเหลืออยู่


ระบบที่ปฏิบัติต่อพวกมันก็ไม่ใช่ระบบของมนุษย์
(เมื่อเทียบกับที่ชาวนาเลี้ยงไก่)

สิ่งที่พุทธศาสนามหายานเรียกร้องชาวพุทธก็คือ

ทำไมเมตตาธรรมของเราจงไม่ควรที่จะเอื้อมาถึงสัตว์เหล่านี้

พวกมันไม่มีอำนาจต่อรองใดใด
ที่จะช่วยตัวเองให้พ้นไปจากนรกบนดินนี้
นอกจากจะมีมนุษย์ผู้มีจิตใจประเสริฐมาช่วยเหลือ

เมตตาธรรมสำหรับฝ่ายมหายาน
นอกจากจะคือความรักและหวังดีต่อเพื่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก
ยังหมายถึงการจะไม่ยอมให้มีการกดขี่เบียดเบียนกัน

โดยที่เราไม่ยอมยื่นมือไปช่วยด้วย
เมตตาธรรมในความหมายหลังนี้
คือความมีน้ำใจ การคิดถึงผู้อื่น

และรู้สึกว่าตราบใดที่โลกนี้ยังมีการกดขี่เบียดเบียนกัน
เราจะนิ่งดูดายคิดถึงแต่ความบริสุทธิ์ส่วนตัวไม่ได้

ชาวพุทธที่ปิดบ้านนั่งภาวนาเพื่อไปพระนิพพาน
โดยไม่มองออกไปข้างนอกบ้านว่าที่โน่นเขาทำอะไรกันบ้าง
จะถือว่ามีเมตตาได้หรือ

นี่คือคำถามที่ผู้วิจัยคิดว่าฝ่ายมหายานได้ตอบเอาไว้ชัด

ฝ่ายเถรวาทจะตอบคำถามนี้อย่างไร
นี่คือสิ่งที่เราชาวเถรวาทจะต้องช่วยกันตอบ

การไม่กินเนื้อสัตว์เป็นหลักการแก้ความชั่วร้ายโดยวิธีอหิงสาโดยแท้

เราไม่จำเป็นต้องเรียกร้องระบบการคุ้มครองสิทธิสัตว์

(คือเสนอให้มีกฏหมายยกเลิกการค้าขายเนื้อสัตว์)
อย่างที่ชาวตะวันตกบางพวกกำลังรณรงค์

เพราะการเสนอเช่นนั้นเป็นการสร้างการเผชิญหน้ากัน
สิ่งทื่เราสามารถทำได้ง่ายๆ ตรงไปตรงมาทันทีทันใด



คือ พยายามไม่กินเนื้อสัตว์
สำหรับชาวพุทธเถรวาท

คฤหัสถ์อาจถือมังสวิรัติได้ง่ายกว่าพระสงฆ์
เพราะเป็นผู้ที่สามารถเลือกได้

และคฤหัสถ์ที่ถือมังสวิรัตินั่นแหละ

ที่จะช่วยให้พระสงฆ์ถือมังสวิรัติได้อย่างง่ายดาย
ด้วยการถวายอาหารมังสวิรัติแก่ท่าน

พระสงฆ์ท่านไม่มีทางปฏิเสธการอุปถัมภ์ของชาวบ้านอยู่แล้ว
เราถวายสิ่งใดท่านก็ฉันสิ่งนั้น

แต่การเลิกกินเนื้อสัตว์ไม่ใช่ของที่จะเลิกกระทำได้ง่ายๆ
เพราะระบบวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ที่เราถือกันเป็นหลักใหญ่ในโลกขณะนี้

เชื่อว่ามนษย์ถูกสร้างมาให้กินเนื้อสัตว์

เพื่อสร้างสมองของเด็กให้เจริญเติบโต

ถ้ามนุษย์ยังมีความจำเป็นบางประการ
ที่จะต้องกินเนื้อสัตว์อยู่

จริยธรรมแบบทางเลือกที่พุทธศาสนาเถรวาทเสนอนั้น
ก็น่าที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุ

การกินเนื้อสัตว์บนพื้นฐานของความสำนึกว่า

ตนเองกำลังเอาเปรียบผู้อื่นจะเป็นแรงหน่วงดึงที่สำคัญ

ที่ไม่ได้ทำให้เด็กกินเพื่อความอร่อย
แต่เพราะความจำเป็น

ยิ่งพุทธศาสนาเถรวาทมีคำสอน
ที่บรรยายโทษของการประกอบอาชีพปาณาติบาต

(เช่นเรื่องนายโคฆาตก์และนายจุนทสูกริกใน “อรรถกถาธรรมบท”)
ว่าจะทำให้มีชีวิตที่เศร้าหมองอย่างไร

คำสอนนี้จะยิ่งมีส่วนช่วยให้ผู้ที่ประกอบอาชีพปาณาติบาต
โดยเฉพาะในเชิงอุตสาหกรรมมีความตระหนักคิดมากขึ้น

ฝ่ายมหายานนั้นรณรงค์ที่ผู้บริโภค
ส่วนฝ่ายเถรวาทก็รณรงค์ที่ผู้ผลิต

เมื่อผนวกจริยธรรมจากสองฝ่ายเข้าด้วยกัน
การฆ่าสัตว์และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร


ก็คงจะลดลงจากโลกนี้เรื่อยๆ อย่างแน่นอน



ระบบจริยธรรมของพุทธศาสนาเถรวาทนั้น
สัตว์จำนวนมหาศาลต้องถูกเลี้ยงในสถานที่ที่แออัด
 
(คัดลอกบางตอนมาจาก :

 งานวิจัยเรื่อง “กิน : มุมมองของพุทธศาสนา”
โดยอาจารย์สมภาร พรมทา ภาควิชาปรัชญา
 โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
พิมพ์ครั้งที่ ๒, พ.ศ ๒๕๔๗, หน้า ๗๕-๗๘)

เมตตา สงสาร เหล่าสรรพสัตว์ ใหญ่ น้อย เพือนร่วมเสวย วิบากกรรม

ขอยกคำสอนเทศนาธรรม บางตอน ของ

หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร แห่งวัดถ้ำยายปริก เกาะสีชัง มา ณ ที่นี้

หลวงพ่อเคยสอนผม หลังจากผมเรียนท่านว่า
“ครูบาอาจารย์บางท่านสอนว่า พระอริยเจ้าท่านฉันอาหารไม่ได้สนใจแล้วว่าอันนี้ผักหรือเนื้อ
คือมองเห็นเป็นเพียงธาตุ ๔ และฉันเพียงเพื่อให้ธาตุขันธ์ดำรงอยู่ได้
แต่หลวงพ่อไม่ฉันเนื้อสัตว์ อย่างนี้จะไม่เป็นการขัดกันหรือครับ”

หลวงพ่อก็ตอบว่า “ก็ถูกของเขาที่ว่า มองเห็นเป็นเพียงธาตุ ๔
แต่อันนั้นก็ต้องระวังว่า กิเลสความอยากกินเนื้อมันก็มีแอบแฝงไว้เหมือนกัน
สำหรับบางคนที่เอามาใช้เป็นข้ออ้าง
สำหรับหลวงพ่อเอง เราไม่ฉันก็เพราะสงสารสัตว์เขาน่ะ
พูดกันตรงๆ แบบคนเดินดินธรรมดาๆ นี่แหละ คิดดูซิ เอาเลือดเอาเนื้อของเขามากิน
อย่างหมู หรือวัว ควาย ทุบหัวเขาแล้วยังมาแทงคอเขาซ้ำอีก
มันทารุณเหลือเกิน เป็ดไก่ ก็เหมือนกัน เชือดคอแล้วก็ปล่อยให้มันดิ้นพรวดพราด
เลือดนี้ไหลพุ่งทะลักออกมา เจ็บปวดแค่ไหนเอ็งน่าจะรู้ดี และถ้าเป็นเอ็งโดนบ้างแล้วจะรู้สึกอย่างไร
ก็ขนาดเราถูกมีดบาด แผลนิดหนึ่งยังว่าเจ็บๆ แล้วนั่นเอ็งว่าสัตว์เขาจะเจ็บแค่ไหนล่ะ
หรืออย่างกะปิ น้ำปลา กะปิหนึ่งกระปุก ใช้กุ้งกี่ตัว น้ำปลาหนึ่งขวด
ทำจากปลาเล็กกี่ตัว นับไม่ถ้วนเลย
คนเราในช่วงเกิด แก่ เจ็บ ตายในหนึ่งชีวิตนี้น่ะ ต้องอาศัยเลือดเนื้อของสัตว์อื่นไปตั้งเท่าไร
ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงเสีย ถือว่าเป็นหนทางหนึ่งที่งดการเบียดเบียนเพื่อนร่วมโลก
แล้วเราก็หมั่นแผ่เมตตาบารมีอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์โลกไป ให้เขาอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
แค่นี้แหละไม่ยากอะไรไม่ใช่หรือ”


แต่พระองค์ก็อนุญาตให้พระไม่ฉันเนื้อด้วยรังเกียจในเนื้อสัตว์ด้วยสาเหตุหลายประการไม่ใช่หรือ
หลวงพ่อก็ไม่ได้ไปว่าอะไรใครเขา เราดูแต่ตัวเรา ปรารถนาเอาเมตตาเป็นสัจจะบารมี
พร้อมด้วยสติ สัมปชัญญะ และความเพียรไม่ท้อถอย เราก็พ้นทุกข์ได้เช่นกัน”


และท่านให้ธรรมะเพิ่มเติมอีกว่า “คนเรามันก็แค่หาอาหารเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
กินดีแค่ไหนก็ขี้ออกมาสกปรกเหมือนกัน เข้าแล้วก็ออกอยู่อย่างนี้ แล้วจะเอาอะไรนักหนา
ทำไมต้องไปเอาเลือดเนื้อของเขามาบำรุงบำเรอตน
หลวงพ่อเองก็กินผักกินหญ้าไปวันหนึ่งๆ ก็พออยู่ได้แล้ว”

--------------------------------------------------------------------------


ความเห็นจาก พระอาจารย์

อาตมามั่นใจว่าหากชาวพุทธปฏิบัติศีลข้อ ๑ อย่างเคร่งครัด ก็ไม่มีเนื้อสัตว์กินแล้ว
เพราะไม่มีใครฆ่ามาขาย หรือฆ่ามากิน ยิ่งอาชีพที่ชาวพุทธที่พระพุทธเจ้าห้ามอีก
เป็นมิจฉาอาชีพ(อาชีพที่ผิดเป็นบาป) ๕ ประการ คือ
๑.การค้าขายอาวุธ
๒.การค้าขายสัตว์เป็น
๓.การค้าขายเนื้อสัตว์
๔.การค้าขายยาพิษ
๕.การค้าขายสิ่งเสพติด มอมเมา

อนุโมทนาสาธุกับโยมที่มีความเห็นที่ถูกต้องใน

เรื่องนี้ ธรรมรักษา

พอสรุปได้ในตัว นอกจากสุขภาพ ที่ดีกว่า ยังทำให้ศีล มั่นคง เว้นจากการฆ่า สังหาร
เว้นบริโภคเนื้อสัคว์ เพื่อเมตตาธรรม ต่อสรรพสัตว์ เืพื่อนร่วมโลก

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สารเร่งโต หรือ โฮโมนในเนื้อสัตว์ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งร้ายหลายชนิด




http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=22128

ข่าวโด่งดัง จาก สหรัฐ

สารเร่งโต หรือ โฮโมนที่ใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ วัว หมู ไก่ อันตรายต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยโรคมะเร็ง ร้าย หลายชนิด ในมนุษย์ ซึ่งผู้ป่วยกว่า ร้อย ล้านคนทั่วโลกที่นิยมชมชอบการบริโภคเนื้อ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งตับ ที่พบการป่วยเป็นอันดับต้น ๆ

ข้อมูลอ้างอิงจาก
วารสารโรคมะเร็งแห่งสหรัฐ

อ้างอิงจากเวป

http://www.all-creatures.org/health/fh-linked.html

http://world-wire.com/news/0910210001

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธศาสนากับมังสวิรัติ : ประเด็นข้อเท็จจริง

พระพุทธศาสนากับมังสวิรัติ : ประเด็นข้อเท็จจริง


โดย พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙, Ph.D)


สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ ภิกษุณีอุบลวรรณาอยู่ในกรุงสาวัตถี เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตเข้าไปพักผ่อนในป่าอันธวัน ขณะนั้น พวกโจรลักโค ฆ่าชำแหละเอาเนื้อ ย่างสุกแล้วคัดเลือกเนื้อดีเอาใบไม้ห่อแขวนไว้ใกล้ภิกษุณีอุบลวรรณา โดยมีเจตนาจะถวายภิกษุณีอุบลวรรณารู้เจตนาจึงถือเอาเนื้อนั้นเหาะไปยังพระ เวฬุวันวิหารฝากเนื้อไว้กับพระอุทายี เพื่อน้อมนำไปถวายพระพุทธเจ้า

กินเนื้อสัตว์ผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ?

เกณฑ์ในการตัดสินว่ามีการล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ มีอยู่ ๕ ประการ คือ

๑) สัตว์มีชีวิต

๒) รู้ว่าเป็นสัตว์มีชีวิต

๓) มีจิตคิดจะฆ่า

๔) มีความพยายาม

๕) สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น



เมื่อ องค์ประกอบครบ ๕ อย่างนี้ ถือว่าผิดศีลหรือล่วงละเมิดศีลข้อนี้ ถ้าไม่ครบก็ถือว่ายังไม่ล่วงละเมิด แต่ชื่อว่าทำให้ศีลข้อนี้ทะลุ (ขาดตรงกลาง) ทำศีลข้อนี้ให้ด่าง ทำให้ศีลข้อนี้พร้อมเพราะฉะนั้น ต่อคำถามที่ว่า กินเนื้อสัตว์ผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ? จึงตอบได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ (๑) ฆ่ากินเองผิดศีลข้อปาณาติบาต แต่จะเหมาะสมหรือไม่เป็นประเด็นที่จะอภิปรายต่อไป แต่ก่อนที่จะอภิปรายกฎหมายบ้านเมืองพูดถึงการสมรู้ร่วมคิดกันกระทำความผิด การมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกินเนื้อสัตว์ที่คนอื่นฆ่า เช่นไปซื้อมาจากตลาด สั่งให้เขาจัดหาไว้ให้แล้วไปซื้อเอา หรือคนอื่นนำมาให้เพราะรู้จักกัน กินในลักษณะอย่างนี้ ธรรมเนียมพระสงฆ์ถือว่ามีความผิด



กินเนื้อสัตว์เหมาะสมหรือไม่ ?

๑) ประเด็นทั่วไป

คำว่า “ถูกต้อง” กับคำว่า “เหมาะสม” มีนัยต่างกัน “ถูกต้อง” หมายถึง
ไม่ผิดบทบัญญัติด้านพระวินัยหือศีลธรรม ส่วนประเด็นเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือ
ไม่เหมาะสม ต้องอภิปรายคำว่า “สุจริต” กับคำว่า “ยุติธรรม” ก่อน ซึ่งทั้ง ๒ คำนี้มี
นัยต่างกัน คำว่า “สุจริต”มีนัยบ่งถึงความถูกต้องเชิงศาสนา เช่น พระพุทธศาสนา
แสดงกายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓ กล่าวเฉพาะกายสุจริต ๓ คือ

๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒) เว้นจากการลักฉ้อ
๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

จะเห็นว่า กายสุจริตข้อหนึ่งคือเว้นจาการฆ่าสัตว์ คนที่มีกายสุจริตอย่างหนึ่งคือ
เว้นจากการฆ่าสัตว์ รักษาศีล ข้อปาณาติบาตบริสุทธิ์บริบูรณ์

ส่วน คำว่า “ยุติธรรม” มีนัยบ่งถึงความเหมาะสม ยอมรับ เช่น ในกระบวนการยุติธรรม
ทางศาล การตัดสินคดีบางอย่างอาจถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม แต่ต้องยอมรับ
ว่าในบางคดีอาจไม่ถูกต้องนัก คนที่ทำผิดมากอาจผิดน้อยขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานคน
ที่ผิดน้อยอาจผิดจาก ถ้าหาเหตุผลมาแสดงความบริสุทธิ์ไม่ได้

๒) ประเด็นเฉพาะ

๒.๑ คฤหัสถ์กินเนื้อสัตว์ ถ้าไม่ได้ฆ่าเอง ย่อมไม่ผิดศีลทุกกรณี

๒.๒ พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นเนื้อต้องห้าม ๑๐ อย่างผิดพระวินัย แม้จะเป็นเนื้อ
ชนิดอื่นจากเนื้อต้องห้าม ถ้าไม่บริสุทธิ์ด้วยเงื่อนไข ๓ อย่างดังกล่าว
ถือว่าผิดพระวินัยเช่นเดียวกัน

มีคำอยู่ ๓ คำที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อตอบคำถามที่ว่ากินเนื้อสัตว์เหมาะสมหรือไม่
คือ ๑) ศีลธรรม หรือวินัย หรือกฎหมาย ๒) สุจริต ๓) ยุติธรรม เรื่อง ของ
ศีลธรรมหรือวินัย หรือกฎหมายเป็นเรื่องของหลักการ ผิดก็คือผิด มีบทกำหนด
โทษชัดเจน ถ้าเป็นศีลธรรมหรือวินัยของพระภิกษุสามเณรก็เป็นทางใจ โทษทางสังคม
ถ้าเป็นกฎหมายบ้านเมืองก็ทางแพ่งทางอาญาแล้วแต่กรณี เรื่องที่สุจริตหรือไม่สุจริต
เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามหลักธรรมทางศาสนา
ส่วนเรื่องยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม แบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ

ส่วนที่ ๑ เป็นข้อเท็จจริง เช่น กรณีการอ้างสิทธิที่จะพึงมีพึง
ได้เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งได้สิทธิ
ย่อมมีคนอีกกลุ่มหนึ่งเสียสิทธิ การได้สิทธิถือเป็นความยุติธรรม
สำหรับกลุ่มที่ได้สิทธิ
แต่ถามว่า ยุติธรรมสำหรับกลุ่มที่เสียสิทธิหรือไม่ ?
หรือกรีการกินเนื้อสัตว์ เมื่อมีการกินเนื้อสัตว์ ก็ย่อมมี
การฆ่าสัตว์ ผู้ที่กินอาจคิดว่า สัตว์อื่นเกิดมาเป็นอาหารของเรา
เป็นสิทธิ์ของเขาที่จะกินอะไรก็ได้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่า


ชีวิตของสัตว์จำนวนมากถูกทำลายไป นี่เป็นข้อเท็จจริง

ส่วนที่ ๒ เป็นความรู้สึก เช่น กรณีการเลื่อนขั้นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่
ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีตำแหน่งเท่ากัน ทำงานในกลุ่มเดียวกันแต่ได้
รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่เท่ากัน นาย ก. ทำงานดีเอาใจใส่ต่องาน
มีประสิทธิภาพในการทำงาน ประสิทธิผลของงานดีกว่า จึงได้รับการ
เลื่อนเงินเดือนมากกว่า นาย ก. รู้สึกมันยุติธรรมสำหรับตัวเองแล้วที่ได้
ทุ่มเทมาตลอดทั้งปี นาย ข. ไม่เอาใจใส่ต่อการงาน ประสิทธิภาพใน
การทำงานต่ำ ประสิทธิผลของงานก็ต่ำ จึงได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
ต่ำกว่า แต่ นาย ข. รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมสำหรับตัวเอง เพราะตัวเองมีตำแหน่ง
เท่ากับนาย ก. และทำงานเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับนาย ก. นี่เป็นความรู้สึก

สรุป ได้ว่า คฤหัสถ์กินเนื้อสัตว์ถ้าไม่ได้ฆ่าเอง ย่อมไม่ผิดศีลและเป็น
พฤติกรรมสุจริต แต่ไม่ยุติธรรมแน่นอน พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ถ้าไม่ผิดเงื่อน
ไขดังกล่าวข้างต้น ย่อมไม่ผิดพระวินัย และเป็นพฤติกรรมสุจริต
แต่ไม่ยุติธรรมเช่นเดียวกัน ถามว่า “เพราะเหตุไร ? จึงไม่ยุติธรรม”

สามัญ สำนึกบอกให้ทราบว่า “สัตว์ทุกตัวตนรักสุข เกลียดทุกข์
สัตว์ทุกชนิดรักชีวิต รักตัวกลัวตาย” การกินเนื้อสัตว์ทำให้เกิดการฆ่าสัตว์
แม้ผู้กินจะไม่ได้ฆ่าเอง แต่การกินทำให้เกิดการฆ่าทังโดยตรงและโดยอ้อม
อาจมีคำโต้แย้งว่า “ถึงเราไม่กิน คนอื่นก็กิน สัตว์ต่าง ๆ ก็กินกันและกัน
เป็นอาหาร สัตว์ก็ต้องถูกฆ่าอยู่นั่นเอง” คำโต้แย้งนี้ไม่เป็นสากล
เราน่าจะถามในประเด็นอื่น ๆ บ้าง เช่น

๑) มนุษย์กินอาหารประเภทอื่นที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ สามารถมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ?

๒) การ กินเนื้อสัตว์ถึงแม้จะไม่ได้ฆ่าเอง แต่ก็มีส่วนส่งเสริมให้เกิดการ
ฆ่าสัตว์เหมือนกรณีรัฐบาลทุ่มงบประมาณซื้อมัน สำปะหลัง ถึงแม้รัฐบาล
จะไม่ได้ปลูกเอง แต่ก็มีส่วนส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น ใช่หรือไม่ ?

๓) ทุก คนรู้ว่าการดื่มกาแฟมีผลเสียต่อสุขภาพ ไม่อยากจะให้มีการผลิตกาแฟ
แต่ทุกคนก็ยังดื่มกาแฟ การที่ทุกคนดื่มกาแฟมีผลทำให้ยังมีการผลิตกาแฟอยู่ใช่หรือไม่ ?



ความสรุป

: พระพุทธศาสนาสรุปอย่างไรเกี่ยวกับมังสวิรัติ



พระ พุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่ชีวิตมาก ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของสัตว์ประเภท
ไหนล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันก็ยอมรับความจริง ๒ ระดับ คือ

(๑) ระดับโลกิยะ
(๒) ระดับโลกุตตระ

ใน ระดับโลกิยะ พระพุทธศาสนาเห็นว่ามีความบกพร่องมากมีคำพูดอยู่
ประโยคหนึ่งที่พระภิกษุ สามเณรในครั้งพุทธกาลพูดอยู่เสมอ เมื่อเกิดการณี
ผิดพลาดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือคำพูดที่ว่า “ไม่ใช่ความผิดของท่าน
ไม่ใช่ความผิดของผม แต่เป็นความผิดของวัฎฎะ” คำว่า “วัฎฎะ”
ก็คือสังสารวัฏ หรือการเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นเอง
เมื่อคราวตรัสรู้ไม่น่าน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

“เรา แสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสาระ
มีความเกิดเป็นอเนก ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป เราได้พบนายช่างผู้ทำ
เรือนแล้วเจ้าจักทำเรือน (คืออัตภาพของเรา) ไม่ได้อีกต่อไปซี่โครง
ทั้งหมดของเจ้า เราหักแล้ว ยอดเรือน (คืออวิชชา) เรารื้อแล้ว จิตของเรา
ได้ถึงนิพพานมีสังขารไปปราศแล้ว เราได้บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว”

พระ พุทธพจน์นี้ทำให้สรุปได้ว่า การเกิดมาในโลกในระดับโลกิยะ
มีปัญหาติดตัวมากมาก สัตว์บางตนเกิดมาอยู่ในฐานะเป็นอาหารของสัตว์อื่น
เช่น หมู่ ปลา ไก่ สัตว์ขางตนเกิดมาอยู่ในฐานะต้องกินสัตว์เป็นอาหารอย่างเดียว
โดยที่ตัวเองมีเนื้อเป็นพิเศษสำหรับสัตว์อื่น แม้แต่มนุษย์ที่ขอบกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
เนื้อของมนุษย์เองก็เป็นอาหารของสัตว์อื่นบางจำพวก นี่คือสังสารวัฎ

ชาว ประมงมีอาชีพหาปลาขาย ฆ่าปลาขาย ฆ่าปลาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน
พวกเขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่พวกเขาทำผิดหลักธรรมข้อสุจริต
ล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาต และวิถีชีวิตของพวกเขาไม่ยุติธรรมสำหรับปลา
แม้กระนั้นขาวประมงก็ยังต้องดำรงชีพโดยการจับปลาขายต่อไป
เกษตรกรเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาก็อยู่ในฐานะเดียวกัน คนที่มีอาชีพฆ่าหมู

เพื่อชำแหละเนื้อออกขายในท้องตลาดก็อยู่ในฐานเดียวกัน นี่คือข้อจำกัดหรือโทษของสังสารวัฏ

ใน ระดับโลกุตตระ วิถีชีวิตบริสุทธิ์จากข้อจำกัดเหล่านี้ สัมมาอาชีวะหรือสัมมาอาชีพซึ่งเป็นองค์หนึ่งในมรรคมีองค์ ๘ จึงหมายถึง การดำรงชีพที่ชอบเว้นจากอาชีพที่เป็นการเบียดเบียนชีวิต เช่น การค้าอาวุธแม้จะถูกต้องตามกฎหมาย การค้าแรงงานมนุษย์ การค้ายาพิษ การค้าน้ำเมา

ประเด็น เกี่ยวกับมังสวิรัติก็เช่นเดียวกัน การกินหรือไม่กินเนื้อสัตว์เป็นเรื่อง
ของแต่ละบุคคล ประเด็นสำคัญคืออย่าฆ่าสัตว์เมื่อพระเทวทัตต์เข้าไปเฝ้า
กราบทูลขออนุญาต วัตถุ ๕ ประการ วัตถุข้ออื่น ๆ พระพุทธเจ้าตรัสกับ
พระเทวทัตต์ “อย่าเลยเทวทัตต์ภิกษุใดปรารถนาก็จงทำไปเถิด เช่น
ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า” ส่วนข้อที่เกี่ยวกับการฉันปลาและเนื้อ
พระพุทธเจ้าตรัสตอบพระเทวทัตต์ว่า “เราอนุญาตปละและเนื้อที่บริสุทธิ์
ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒) ไม่ได้นึกสงสัย (๓) ไม่ได้นึกสงสัย”
จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงใช้คำว่า “ผู้ใดปรารถนาจงฉันปลาและเนื้อ”
พระพุทธเจ้าดำรัสนี้มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง ถามว่า “

อะไรคือนัยสำคัญแห่งพระพุทธดำรัสนี้ ?”

พระพุทธดำรัสว่า “เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อาการ ...”
หมาย ถึง ไม่ได้ตั้งข้อกำหนดไว้ วางไว้เป็นกลาง ๆ ไม่ได้กำหนดแม้แต่จะบอกว่า “
ผู้ใดปรารถนาก็จง ...” เพราะฉะนั้น เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เป็นกลาง ๆ
อย่างนี้ ในทางปฏิบัติจะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม จะถูกหรือผิด
พระภิกษุต้องเทียบเคียงกับหลักที่เรียกว่า “มหาปเทศ” ๒ ข้อ คือ

(๑) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า “สิ่งนี้ไม่ควร” ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ใน
กลุ่มสิ่งที่ไม่ควร แย้งกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร

(๒) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า “สิ่งที่ไม่ควร” ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ใน
กลุ่มสิ่งที่ควร แย้งกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร

เมื่อ พระภิกษุเทียบเคียงถือปฏิบัติอย่างนี้ย่อมไม่ผิดพระวินัยแต่อย่างที่กล่าวมา
แล้วว่า วิถีชีวิตระดับโลกิยะ มีโทษมาก มีข้อบกพร่องมาก
เช่นกรณีการกินเนื้อสัตว์ แม้จะเป็นเนื้อที่ไม่ต้องห้ามต้องพิจารณาก่อนฉัน
ถ้าไม่พิจารณาย่อมผิดพระวินัย ซึ่งต้องการให้พระภิกษุหรือแม้แต่คน
ที่ไม่ใช่พระภิกษุสำนึกอยู่เสมอว่า การกินเนื้อสัตว์แม้จะไม่ได้ฆ่าสัตว์
ก็ถือว่ามีส่วนทำให้ชีวิตถูกทำลาย ถ้าไม่กินจะดีกว่าหรือไม่ ?
ส่วนวิถีชีวิตระดับโลกุตระนั้น ย่อมบริสุทธิ์จากอกุศลเจตนาทุกประการ
พระพุทธศาสนาสรุปชัดเจนในประเด็นว่า ฆ่าสัตว์ผิดศีลผิดวินัย
บางกรณีผิดกฎหมายบ้านเมืองกินเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ไม่ผิด
[color=#4040BF]ถ้าเป็นพระภิกษุฉันผิดเงื่อนไข ผิดพระวินัย ถ้าไม่ผิดเงื่อนไข
ไม่ผิดพระวินัย นั่นเป็นเรื่องของศีลของคฤหัสถ์และพระวินัยของ
พระภิกษุ แต่อย่าลืมว่า ฆ่าสัตว์กับกินเนื้อสัตว์เป็นคนละประเด็น
กินเนื้อสัตว์ในกรณีที่แม้จะไม่ผิดศีลหรือพระวินัย แต่ส่งผลต่อคน/
สัตว์รอบข้างและอุปนิสัยจิตใจของผู้กินแน่นอน ในลังกาวตารสูตร
แสดงเหตุผลที่ไม่ควรกินเนื้อสัตว์สรุปได้ว่า “ในสังสารวัฏ
คนที่ไม่เคยเป็นบิดามารดา ไม่เคยเป็นพี่น้องกัน ไม่มี สัตว์ทุกตัวตน
มีความสัมพันธ์ทั้งสิ้นไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง” เพราะฉะนั้น กินเนื้อสัตว์วันนี้
เราอาจกำลังกินเนื้อของสัตว์ที่เคยเป็นบิดามารดาของเราในชิตที่แล้วมา

หรือใน อีก ๕ ชาติข้างหน้าก็ได้ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงผลเสียของการ
กินเนื้อสัตว์ไว้ เช่น ทำให้เป็นที่หวาดกลัวของสัตว์ต่าง ๆ ทำให้กลิ่นตัวเหม็น
ทำให้ชื่อเสียงไม่ดีกระจายไป
[/color]
ข้อมูลจากเวป

วัดปากน้ำภาษีเจริญ

http://www.watpaknam.org/knowledge/view.php?id=15