วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การกินเนื้อสัตว์...ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาหรือไม่ ?

การกินเนื้อสัตว์...ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาหรือไม่ ?
อาจารย์สมภาร พรมทา

บทสรุป


ท้ายที่สุดแล้วพุทธทุกฝ่ายก็เห็นร่วมกันว่า

การถือมังสวิรัติเป็นดี การที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้สาวกกินเนื้อสัตว์ได้

ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาทนั้น

ควรเข้าใจว่าเป็นคนละเรื่องกับการสนับสนุนให้กินเนื้อสัตว์

เป็นระบบที่คิดเผื่อให้มีทางออก

สำหรับสถานการณ์ที่เราไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้

เมื่อเราเข้าไปดูหนังในโรงหนัง



โรงหนังนั้นต้องมีทางออกปิดเอาไว้


สำหรับคนที่มีภาระต้องออกไป ก่อนคนอื่น

หรือไม่ยินดีที่จะดูหนังต่อเพราะหมดสนุก

พระพุทธองค์ทรงคิดเช่นนี้

จึงทรงอนุญาตให้ชาวพุทธบริโภคเนื้อสัตว์ได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าในอนาคตหลังจากที่ทรงปรินิพพานแล้ว

พุทธศาสนาอาจแพร่เข้าไปในดินแดนที่อาหารหลักของผู้คนคือเนื้อสัตว์

(เช่นบริเวณขั้วโลกเหนือที่ปลูกพืชแทบจะไม่ได้เลย

มีแต่ปลาและเนื้อเท่านั้นที่ผู้คนจะกินเป็นอาหารได้)

การปิดประตูสนิทสำหรับการกินเนื้อสัตว์

จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

แต่การมีประตูออกที่โรงหนัง

ไม่ได้แปลว่าเป็นการเชิญชวนให้ทุกคนออกมาจากโรงหนัง

การมีอยู่ของประตูนั้น

ควรเข้าใจว่ามีอยู่ในฐานะช่องทางสำหรับการเลือก

จริยธรรมแบบที่ไม่มีช่องทางสำหรับการเลือกเลยนั้น

พุทธศาสนาเถรวาทถือว่าเป็นจริยธรรมที่สุดโต่ง

การที่ฝ่ายมหายานมีความปรารถนา

ที่จะให้โลกนี้ลดการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารมนุษย์นั้น

ต้องถือว่าเป็นเจตนาดีอย่างไม่มีข้อสงสัย

ยิ่งในโลกปัจจุบันที่อุตสาหกรรมอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์

กระทำในรูปธุรกิจที่มีการเลี้ยงสัตว์คราวละมากๆ
และฆ่าสัตว์เพื่อส่งตลาดคราวละมากๆ

ข้อเสนอของฝ่ายมหายานยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
สิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ

การที่เรายังกินเนื้อสัตว์อยู่
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความชั่วร้าย
ที่กลายเป็นระบบไปแล้วนี้ยังดำรงอยู่ต่อไป
________________________________________


ถูกปฏิบัติอย่างไม่มีคุณค่าโดยเจ้าของธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้อง

รอวันหนึ่งเมื่อเนื้อของมันจะให้ค่าตอบแทนสูงสุดแก่ผู้ลงทุน


พวกมันก็จะถูกกวาดต้อนไปเชือด





นี่คือปาณาติบาตที่ทำอย่างเป็นระบบ เป็นวงจร

และอย่างปราศจากความสำนึกทางศีลธรรมใดใด

การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารบ้างในสังคมเกษตรกรรมนั้น

อาจถูกตั้งคำถามไม่มากนักในเชิงจริยธรรม

ชาวนาที่เลี้ยงไก้ไว้ในบ้านปฏิบัติต่อไก่นั้น

อย่างมนุษย์ปฏิบัติต่อเพื่อสรรพสัตว์

ให้อาหารมัน มีที่มีทางให้มันได้เดิน ได้วิ่ง

ได้เลี้ยงลูก ตามประสาของมัน


ถึงเวลาที่จำเป็นเขาอาจขอชีวิตพวกมันบางตัวเพื่อเป็นอาหาร

ปาณาติบาตในสภาพการณ็เช่นนี้ยังพอเป็นที่เข้าใจได้

แต่ไก่หรือหมูที่อยู่ในโรงเลี้ยงสัตว์จำนวนเป็นพันเป็นหมื่นตัวนั้น
ไม่มีคุณค่าหรือศักดิ์ใดใดหลงเหลืออยู่


ระบบที่ปฏิบัติต่อพวกมันก็ไม่ใช่ระบบของมนุษย์
(เมื่อเทียบกับที่ชาวนาเลี้ยงไก่)

สิ่งที่พุทธศาสนามหายานเรียกร้องชาวพุทธก็คือ

ทำไมเมตตาธรรมของเราจงไม่ควรที่จะเอื้อมาถึงสัตว์เหล่านี้

พวกมันไม่มีอำนาจต่อรองใดใด
ที่จะช่วยตัวเองให้พ้นไปจากนรกบนดินนี้
นอกจากจะมีมนุษย์ผู้มีจิตใจประเสริฐมาช่วยเหลือ

เมตตาธรรมสำหรับฝ่ายมหายาน
นอกจากจะคือความรักและหวังดีต่อเพื่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก
ยังหมายถึงการจะไม่ยอมให้มีการกดขี่เบียดเบียนกัน

โดยที่เราไม่ยอมยื่นมือไปช่วยด้วย
เมตตาธรรมในความหมายหลังนี้
คือความมีน้ำใจ การคิดถึงผู้อื่น

และรู้สึกว่าตราบใดที่โลกนี้ยังมีการกดขี่เบียดเบียนกัน
เราจะนิ่งดูดายคิดถึงแต่ความบริสุทธิ์ส่วนตัวไม่ได้

ชาวพุทธที่ปิดบ้านนั่งภาวนาเพื่อไปพระนิพพาน
โดยไม่มองออกไปข้างนอกบ้านว่าที่โน่นเขาทำอะไรกันบ้าง
จะถือว่ามีเมตตาได้หรือ

นี่คือคำถามที่ผู้วิจัยคิดว่าฝ่ายมหายานได้ตอบเอาไว้ชัด

ฝ่ายเถรวาทจะตอบคำถามนี้อย่างไร
นี่คือสิ่งที่เราชาวเถรวาทจะต้องช่วยกันตอบ

การไม่กินเนื้อสัตว์เป็นหลักการแก้ความชั่วร้ายโดยวิธีอหิงสาโดยแท้

เราไม่จำเป็นต้องเรียกร้องระบบการคุ้มครองสิทธิสัตว์

(คือเสนอให้มีกฏหมายยกเลิกการค้าขายเนื้อสัตว์)
อย่างที่ชาวตะวันตกบางพวกกำลังรณรงค์

เพราะการเสนอเช่นนั้นเป็นการสร้างการเผชิญหน้ากัน
สิ่งทื่เราสามารถทำได้ง่ายๆ ตรงไปตรงมาทันทีทันใด



คือ พยายามไม่กินเนื้อสัตว์
สำหรับชาวพุทธเถรวาท

คฤหัสถ์อาจถือมังสวิรัติได้ง่ายกว่าพระสงฆ์
เพราะเป็นผู้ที่สามารถเลือกได้

และคฤหัสถ์ที่ถือมังสวิรัตินั่นแหละ

ที่จะช่วยให้พระสงฆ์ถือมังสวิรัติได้อย่างง่ายดาย
ด้วยการถวายอาหารมังสวิรัติแก่ท่าน

พระสงฆ์ท่านไม่มีทางปฏิเสธการอุปถัมภ์ของชาวบ้านอยู่แล้ว
เราถวายสิ่งใดท่านก็ฉันสิ่งนั้น

แต่การเลิกกินเนื้อสัตว์ไม่ใช่ของที่จะเลิกกระทำได้ง่ายๆ
เพราะระบบวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ที่เราถือกันเป็นหลักใหญ่ในโลกขณะนี้

เชื่อว่ามนษย์ถูกสร้างมาให้กินเนื้อสัตว์

เพื่อสร้างสมองของเด็กให้เจริญเติบโต

ถ้ามนุษย์ยังมีความจำเป็นบางประการ
ที่จะต้องกินเนื้อสัตว์อยู่

จริยธรรมแบบทางเลือกที่พุทธศาสนาเถรวาทเสนอนั้น
ก็น่าที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุ

การกินเนื้อสัตว์บนพื้นฐานของความสำนึกว่า

ตนเองกำลังเอาเปรียบผู้อื่นจะเป็นแรงหน่วงดึงที่สำคัญ

ที่ไม่ได้ทำให้เด็กกินเพื่อความอร่อย
แต่เพราะความจำเป็น

ยิ่งพุทธศาสนาเถรวาทมีคำสอน
ที่บรรยายโทษของการประกอบอาชีพปาณาติบาต

(เช่นเรื่องนายโคฆาตก์และนายจุนทสูกริกใน “อรรถกถาธรรมบท”)
ว่าจะทำให้มีชีวิตที่เศร้าหมองอย่างไร

คำสอนนี้จะยิ่งมีส่วนช่วยให้ผู้ที่ประกอบอาชีพปาณาติบาต
โดยเฉพาะในเชิงอุตสาหกรรมมีความตระหนักคิดมากขึ้น

ฝ่ายมหายานนั้นรณรงค์ที่ผู้บริโภค
ส่วนฝ่ายเถรวาทก็รณรงค์ที่ผู้ผลิต

เมื่อผนวกจริยธรรมจากสองฝ่ายเข้าด้วยกัน
การฆ่าสัตว์และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร


ก็คงจะลดลงจากโลกนี้เรื่อยๆ อย่างแน่นอน



ระบบจริยธรรมของพุทธศาสนาเถรวาทนั้น
สัตว์จำนวนมหาศาลต้องถูกเลี้ยงในสถานที่ที่แออัด
 
(คัดลอกบางตอนมาจาก :

 งานวิจัยเรื่อง “กิน : มุมมองของพุทธศาสนา”
โดยอาจารย์สมภาร พรมทา ภาควิชาปรัชญา
 โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
พิมพ์ครั้งที่ ๒, พ.ศ ๒๕๔๗, หน้า ๗๕-๗๘)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น